Translate

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

http://www.ammhorsethai.blogspot.co.th

1. ความเป็นมา (Introduction)
จังหวัดชุมพรเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางการรวมทัพมาตั้งแต่สมัยโบราณ (ชื่อเดิมคือ ชุมพล หรือ ประชุมพล) ดังนั้นประชากรที่นี่จึงมีความผูกพันและเคยชินกับการนำสัตว์มาใช้งานทั้งในยามศึกและยามสงบ และเนื่องจากภูมิประเทศเป็นป่าเขา ไม่มีที่ราบกว้างใหญ่เหมือนเช่นภาคกลาง เมื่อความเจริญยังเข้าไม่ถึงจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สัตว์เป็นพาหนะหลักในการขนส่งสินค้าและยุทธปัจจัย ครั้นเมื่อสงครามสงบลง สัตว์พาหนะที่ใช้ในการศึกอาทิเช่น ช้าง ม้า ก็ยังคงมีหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ ซึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชาวบ้านในแถบนั้นและย่านใกล้เคียงเริ่มนำสัตว์เหล่านี้โดยเฉพาะม้าไปใช้ขนส่งสินค้าทางการเกษตร เป็นที่รู้กันดีว่าเมื่อ 40 ปีก่อนหน้านี้ ชุมพร ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีการเลี้ยงม้ามากที่สุดทางตอนใต้ของประเทศไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เมื่อโลกมีการพัฒนาเครื่องจักรเครื่องยนต์ทำให้คนหันมาใช้รถยนต์แทนแรงงานสัตว์ ทำให้ปริมาณม้าลดลงอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบัน หากจะหาคนเลี้ยงม้าสักคนก็ยากพอๆกับการงมเข็มในมหาสมุทร
ด้วยความรักม้าเป็นชีวิตจิตใจ บวกกับการเป็นคนชุมพรแต่กำเนิดที่มีความต้องการที่จะให้จังหวัดชุมพรคงเอกลักษณ์ประจำจังหวัดไว้ ในปี 2542-43 น.อ. กิตติพงษ์ พุ่มสร้าง ร.น. (ปัจจุบันรับราชการที่กรมอู่ทหารเรือ กองทัพเรือ) จึงเริ่มนำม้าที่ชาวบ้านเลี้ยงแบบทิ้งขว้าง มาปล่อยไว้ในสวนยางพาราที่มีเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ โดยเริ่มจากมีลูกม้าตัวเมีย เพียงสองตัว ในระยะแรกไม่ได้ให้อาหารเสริมอะไรเป็นพิเศษ เพียงปล่อยให้ม้าหากินเองตามธรรมชาติเท่านั้น และโดยความคิดส่วนตัวก็เพียงว่าต้องการแค่นำม้ามาเป็นอุปกรณ์กำจัดวัชพืช และถ่ายออกมาเป็นปุ๋ยก็พอแล้ว แต่พอเลี้ยงไปได้สักระยะหนึ่งก็พบว่า การเลี้ยงม้าในสวนยาง สามารถประหยัดค่ายาฆ่าหญ้าในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังทำให้ดินเริ่มคืนสภาพ จากเดิมหากมีฝนตกก็ไม่ค่อยมีเสียงร้องของกบเขียด ปัจจุบันแม้ฝนไม่ตกแต่หากอากาศชุ่มชื้นก็มีเสียงกบเขียดร้องระงม หลังจากเริ่มมีม้าในสวนยางไม่นานก็เริ่มมีคนมาขอซื้อม้า แต่ก็ยังไม่มีแบ่งขาย เนื่องจากยังไม่ได้คิดจะเลี้ยงม้าในรูปแบบของธุรกิจ
ต่อมาเมื่อเห็นว่ามีคนเข้ามาสอบถามหาซื้อม้าบ่อยขึ้น จึงคิดที่จะเพาะพันธุ์ม้าให้เป็นเรื่องเป็นราว แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่มีเอกสารที่เกี่ยวกับการเลี้ยงม้าในภาคเกษตรด้านอื่นเลย ยกเว้นม้าแข่ง ที่มีการเลี้ยงอย่างเป็นระบบ ทำให้ น.อ. กิตติพงษ์ ฯ ต้องใช้วิธีการค้นคว้าด้วยตนเอง โดยการซื้อหนังสือม้าภาษาอังกฤษจากหลากหลายแหล่งมาศึกษา ขณะเดียวกันก็เดินทางทั้งต่างประเทศและในประเทศเพื่อไปสัมภาษณ์เกจิชาวบ้านตามแหล่งต่างๆ อาทิ เช่น หัวหิน ภูเก็ต นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี นครราชสีมา ราชบุรี ลำปาง เชียงราย ฯ แต่สุดท้ายก็ยังมีความเด็ดเดี่ยวที่จะไม่พัฒนาสายพันธุ์ม้าไปเป็นม้าแข่ง เนื่องจากเห็นว่าประชากรส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกร ที่ยังยืนหยัดบนความพอเพียง ไม่นิยมเรื่องการพนัน ดังนั้น จึงได้คิดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้สนใจทั่วไป ในที่สุด ฟาร์มเลี้ยงม้าไทยโพนี่จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา
ม้าสายพันธุ์ไทยโพนี่ แรกทีเดียวไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ส่วนใหญ่มักเรียกม้าลูกผสมเหล่านี้ว่า “ลูกผ่าน” แต่ภายหลังก็ได้เริ่มนิยามความหมายว่า ม้าไทยโพนี่ เป็นม้าลูกผสมสามสายพันธุ์ที่เกิดจากการผสมระหว่างม้าไทยหรือม้าสายพันธุ์ไทย ม้าพันธุ์เธอโรเบรต (ม้าแข่ง) และม้าพันธุ์ควอเตอร์ฮอร์ส (ม้าขี่ต้อนวัวของอเมริกัน) โดยจะรวมไปถึงม้าแฟนซีลูกผ่าน (Pinto Horse) ที่เกิดในประเภทไทย ในครั้งแรกเริ่มพัฒนาสายพันธุ์โดยชาวบ้านในแถบพื้นที่ภาคกลาง เริ่มจากการเป็นม้าแห่นาคของชาวบ้าน ภายหลังก็แพร่พันธุ์ออกไป และได้รับความนิยมสูงสุดโดยชาวบ้านที่เลี้ยงม้าเพื่อใช้ขี่บริเวณชายหาดที่ อ.หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ และหากจะเทียบการพัฒนาสายพันธุ์กับวัวพันธุ์กำแพงแสนแล้ว ม้าไทยโพนี่ปัจจุบันพัฒนามาถึงรุ่นที่สาม เมื่อโตเต็มวัยจะสูงประมาณ 150 ซม. สำหรับตัวผู้ และประมาณ 140 ซม. สำหรับตัวเมีย
ม้าของไทยโพนี่รุ่นแรกเป็นการผสมกันระหว่าง พ่อม้าพันธุ์เธอโรเบรต (ม้าแข่ง) กับแม่ม้าไทย การผสมโดยใช้พ่อพันธุ์เธอร์โรเบร็ตก็เพื่อเป็นการยกระดับความสูงของม้า (ม้าไทยพื้นเมืองหรือม้าแกลบมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 120 ซม. ไม่เหมาะต่อการนำมาใช้งาน) โดยม้าโตเต็มวัยจะสูงประมาณ 135 -140 ซม. สำหรับตัวผู้ และประมาณ 130 -135 ซม. สำหรับตัวเมีย หลังจากนั้นจึงนำม้าตัวเมียของรุ่นแรก ไปผสมอีกครั้งกับพ่อม้าพันธุ์ควอเตอร์ฮอร์ส (เจ้าเบิ้ม พ่อม้าสูงประมาณ 152 ซม.) การทำดังนี้ก็เพื่อต้องการให้มีสายเลือดของม้าที่มีความแข็งแกร่ง และมีความนิ่ง เชื่องแบบสายพันธุ์ควอเตอร์ และที่สำคัญคือความทนทานต่อสภาพอากาศร้อนชื้นแบบสวนยางพาราในภาคใต้ได้ ลูกม้าในรุ่นนี้เมื่อคลอดออกมาจะเป็นลูกม้ารุ่นที่สอง และเมื่อโตเต็มวัยจะสูงประมาณ 145-150 ซม. สำหรับตัวผู้ และประมาณ 135 -140 ซม. สำหรับตัวเมีย
ม้าตัวเมียในรุ่นสองนี้จะถูกคัดไว้อีกครั้งเพื่อผสมกับม้าที่มีลักษณะดีโดยจะใช้พ่อพันธุ์ที่ชื่อ องอาจซึ่งเป็นม้าพินโตหรือตามที่เรียกในภาษาไทยว่าม้าแฟนซี ขณะนี้อายุประมาณ 5 ปี (องอาจเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2548) ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มาจากแม่ม้าสายพันธุ์ดีชื่อบัวขาว และพ่อม้าชนะเลิศการประกวดม้าไทยที่มีลักษณะดีเด่นสองปีซ้อนในงานมหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน ชื่อวันเฉลิมของอำพลฟาร์ม และในอนาคตหลังจากได้ลูกม้าตัวเมียจากรุ่นของพ่อม้าองอาจ ทางฟาร์มก็จะผลัดเปลี่ยนพ่อม้าอีกครั้งหนึ่ง โดยมีข้อแม้ว่าพ่อม้าที่เราจะนำมาปรับปรุงพันธุ์ต้องเป็นม้าที่เหมาะกับสภาพเมืองไทยเป็นอย่างดีเท่านั้น

อนึ่ง เว็บไซต์นี้ได้กำหนดคำจำกัดความของม้าที่มีสีสันคละกันไว้ดังนี้
Paint Horse:ม้าด่าง คือม้าเพ้นท์แบบอเมริกัน เป็นม้าพันธุ์ควอเตอร์ของอเมริกา ภายหลังมีการเพาะสีให้มีสีด่างสวยงามหลากหลายรูปแบบโดยมีข้อแม้ว่าจะต้องมีสีสันสวยงามตรงตามที่ระบุ มีสายพันธุ์ที่แน่นอนสามารถตรวจสอบสายเลือดหรือ Ped Degree ได้จาก APHA หรือสมาพันธ์อื่นที่เทียบเท่า
Pinto Horse: ม้าแฟนซีหรือม้าปินโต คือม้าลูกผ่านที่ยังไม่มีสายเลือดที่แน่นอน ลักษณะเด่นคือมีลวดลายสีสันสวยงาม แบบม้าปินโตของอเมริกัน และหากจะให้เป็นม้าแฟนซีที่สมบูรณ์สวยงามก็ควรมีส่วนสูงไม่น้อยกว่า 140 ซม.

ม้าในประเทศไทยนั้นสามารถสืบเสาะค้นหาที่มาได้ตามเมืองใหญ่สำคัญๆ ในแต่ละภาคของประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่มีประวัติเป็นเมืองหน้าด่านในทางการรบ ทางการค้า รวมทั้งเมืองที่เป็นเขตรอยต่อของอาณาจักรไทยกับเพื่อนบ้านในแต่ละยุค โดยเราสามารถตามรอยฃองบรรพบุรุษม้าในไทยได้ตามภาคต่างๆ ดังนี้
ภาคกลาง จะพบม้ามากบริเวณจังหวัดแถบภาคกลาง เช่น กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม เนื่องจากจังหวัดเหล่านี้ในสมัยโบราณ จัดเป็นเมืองหลวงและเมืองลูกหลวง ดังนั้น จะมีปริมาณม้าหนาแน่นที่สุดมาแต่ยุคโบราณ จนในปัจจุบันเราจะพบว่ามีการใช้ม้าในงานมงคลต่าง อาทิ งานบวช ฯ นอกจากนี้ชาวบ้านในบริเวณนี้ยังมีความเป็น Horsemanship สูงมาก เช่น มีความรู้เรื่องการเลี้ยงม้าและฝึกม้าแบบไทยๆ ในเกณฑ์สูง ชาวบ้านในแถบจังหวัด กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สามารถฝึกม้าให้เต้นตามจังหวะกลองได้ในงานพิธีต่างๆ สำหรับม้าที่เลี้ยงตามภาคกลางนั้นส่วนใหญ่จะเป็นม้าลูกผสมหรือที่เรียกกันว่า “ ลูกผ่าน” กล่าวคือเป็นม้าลูกผสมระหว่างม้าไทยพื้นเมือง กับม้าเทศหรือม้าที่มาจากต่างประเทศ สายพันธุ์ต่างๆ แต่เนื่องจากบริเวณภาคกลางเป็นแหล่งที่มีหน่วยราชการที่นิยมสั่งซื้อม้าจากต่างประเทศมาเพาะเลี้ยงตั้งอยู่ในปริมาณหนาแน่น (ใช้เพื่อการทหาร ใช้เพื่อผลิตยา) เรามักพบว่าม้าในภาคนี้จะเป็นม้าที่ได้รับการผสมพันธุ์จนกลายพันธุ์ไปแล้วทั้งสิ้น ม้าไทยสายพันธุ์แท้ไม่ค่อยมีให้เห็นนัก ม้าที่พบทางภาคกลางโดยเฉลี่ยจะมีส่วนสูงประมาณ 150 ซม. สำหรับตัวผู้ และประมาณ 135-140 ซม. สำหรับตัวเมีย และสายพันธุ์ที่พบจะมีทั้งลูกผสมของม้าแข่ง (เธอร์โรเบร็ต) ม้าขี่เลี้ยงวัวของอเมริกัน (ควอเตอร์ฮอร์ส) ม้าสวยงามพันธุ์ต่าง ๆ (ลิปิซานเนอร์ ลูซิทาโน อันดาลูเชียน) และในปัจจุบันก็พบว่ายังมีชาวบ้านใน อ. ชะอำ และหัวหิน ยังนิยมนำม้าไปให้บริการนักท่องเที่ยวบริเวณ ชายหาด อยู่เป็นจำนวนมาก
แหล่งท่องเที่ยวชมม้าไทย ชายหาดหัวหิน ชะอำ ชะอำโพนี่คลับ เป็นต้น
ภาคเหนือ เนื่องจากสภาพทางภูมิศาสตร์ของภาคเหนือนั้นติดต่อกับประเทศจีน และพม่า ซี่งในปัจจุบันจะพบว่ายังมีการใช้ม้าอยู่เป็นจำนวนมากมากในสองประเทศที่กล่าวมา ประชากรในแถบนี้ นิยมใช้ม้าเพื่อการศึกในสมัยโบราณ และยังใช้ม้าเป็นพาหนะในการแลกเปลี่ยนสินค้าในปัจจุบัน ม้าในภาคเหนือมักมีเชื้อสายมาจากม้ามองโกลของจีน ซึ่งจัดเป็นต้นกำเนิดม้าพันธุ์อาหรับ ที่โด่งดังไปทั่วโลกเรื่องของคุณลักษณะพิเศษของม้า ม้าสายพันธุ์มองโกลนี้จัดเป็นต้นสายของม้าไทยพันธุ์หนึ่ง หรือมันก็คือม้าพันธุ์พื้นเมืองที่เรียกกันในเชิงตลกขบขันว่า “ ม้าแกลบ ” นั่นเอง เนื่องจากเป็นม้าที่มีขนาดเล็ก ความสูงไม่เกิน 130 โดยเฉลี่ยจะสูงประมาณ 120-125 ซม. จุดเด่นคือ กินอาหารน้อย ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย และมีความทรหดอดทนสูงเป็นพิเศษ ปัจจุบัน ใน จ.ลำปาง ยังมีผู้ประกอบการรถม้าให้เห็นอยู่และแม้ว่าม้าที่นำมาใช้งานจะเป็นส่วนใหญ่จะเป็นลูกผสมเกือบหมดแล้ว (เนื่องจากม้าไทยแท้มีขนาดเล็กเกินไป ไม่เหมาะต่อการใช้งาน) อย่างไรก็ตาม ม้าสายพันธุ์นี้ยังสามารถหาดูได้ที่ชมรมอนุรักษ์ม้าไทยจังหวัดลำปาง ในปัจจุบัน ยังมีประชาชนบางส่วนสั่งซื้อม้าจากประเทศจีนและพม่าเข้ามาอยู่ประปราย โดยเข้ามาทาง จ. เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอน และทาง อ. แม่สอด จังหวัดตาก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการสำรวจแม้ว่าจะพบว่าภาคนี้มีม้าในปริมาณสูงรองจากภาคกลาง แต่ม้าไทยแท้กลับพบว่ามีน้อยมาก ที่ยังพบบ้างประปราย ก็มักอยู่เขตในจังหวัดที่มีอดีตของขบวนคาราวานวัวในยุคไม่เกิน 200 ปีที่ผ่านมาของเหล่านายฮ้อย ที่นิยมขี่ม้าต้อนวัวไปซื้อ-ขายตามแหล่งต่างๆ ในภาคอีสานจนถึงภาคกลาง เช่น จ.อุบลราชธานี (ชมรมอนุรักษ์ม้าไทยสิรินธร) สาเหตุเนื่องจาก มีการเลี้ยงม้าเพื่อใช้เป็นม้าแข่งสูงมาก ในจังหวัดใหญ่ๆ ของภาค อาทิ จ. ขอนแก่น จ. นครราชสีมา นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงม้าเป็นงานอดิเรกของนายทุนเจ้าของที่ดินที่บริเวณ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระเรื่อยไปจนถึงเขต อ.วังน้ำเขียว จ.ปราจีณบุรี สายพันธุ์ม้าที่นิยมค่อนข้างหลากหลาย อาทิเช่น ควอเตอร์ฮอร์ส อาหรับ เธอร์โรเบร็ต ฯ ม้าบริเวณนี้ส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ล้ำหน้ากว่าภาคอื่นๆ ในประเทศ จนเรียกได้ว่ามีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับม้าสากลมากที่สุด
ภาคใต้ เป็นแหล่งเดียวที่น่าจะยังคงความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ม้าไทยเอาไว้ได้ มากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงต่ำสลับที่ราบ ทำให้ไม่ค่อยนิยมใช้ม้าเป็นพาหนะ ม้าพันธุ์ที่สำรวจพบบริเวณนี้ได้แก่ ม้าไทยสายพันธุ์พม่า หรือที่เรียกกันว่า “ม้าไทยใหญ่” ม้าสายนี้จัดเป็นม้าพันธุ์ไทยแท้อีกสายหนึ่ง ที่มาของม้าพันธุ์นี้น่าจะมาจากบริเวณ จ.ชุมพรและรอยต่อชายแดนไทยพม่า บริเวณ อ. กระบุรี จ.ระนอง เนื่องจากบริเวณนี้เป็นจุดรวมพล (ประชุมพล ชุมพล ภายหลังกร่อนเป็นชุมพร) ของทัพหลวงก่อนเข้าตีหัวเมืองภาคใต้ เช่น เมืองนครศรีธรรมราชหรือปัตตานี แหล่งที่มีม้าไทยมากมักเป็นหัวเมืองและเมืองชายแดนตั้งแต่สมัยโบราณ ตัวอย่างเช่น อ.ไชยา จ. สุราษฎร์ธานี อ. เมือง จ.ชุมพร บริเวณที่มีเขตแดนติดกับพม่า บริเวณ จ.ระนอง จ. นครศรีธรรมราช สาเหตุที่ประชากรบางส่วนทางภาคใต้นิยมเลี้ยงม้าก็เนื่องจากต้องใช้แรงงานม้าในการขนส่งสินค้าทางการเกษตรออกมาค้าขาย ดังนั้น จึงใช้ม้าที่มีสายเลือดดั้งเดิมเป็นหลัก และหากจะนำม้าไทยไปผสมกับม้าพันธุ์ดีก็ไม่คุ้มค่าขนส่ง ดังนั้น ม้าบริเวณดังกล่าวมักมีสายเลือดไทยแท้ (Pure bred) สูงสุด แต่หลังจากได้มีการพัฒนาทางด้านการคมนาคมขนส่ง ก็ทำให้เลิกใช้ม้า รวมทั้งพันธุ์ม้าที่มีอยู่ก็มักปล่อยให้ผสมกันในฝูง (In Breed) จนสุดท้ายเหลือแต่ม้าไทยที่มีลักษณะด้อยมากกว่าลักษณะเด่น เช่น ตัวเล็กหรือขาสั้นเกินไป เมื่อม้าขาดความสง่างามจึงทำให้ขาดผู้สนใจ จนในปัจจุบันได้เกิดความนิยมเลี้ยงม้าในสวนเกษตรขึ้นมา ม้าไทยในภาคใต้จึงได้รับความนิยมกลับมาอีกครั้ง
หากจะกล่าวโดยสรุปแล้วเราสามารถพูดได้ว่าม้าไทยแท้มีอยู่สองสายพันธุ์นั่นคือ สายพันธุ์มองโกล ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนแต่ยุคโบราณ กับอีกสายพันธุ์คือ สายพันธุ์ไทยใหญ่ ที่มีพื้นฐานมาจากม้ามองโกลเหมือนกันแต่ภายหลังได้รับอิทธิพลจากม้าที่มาจากประเทศพม่า โดยเฉพาะช่วงที่พม่าเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษนั้น ข้าหลวงที่ปกครองพม่าจะมาจากอินเดีย และเมื่อย้ายมาอยู่ที่พม่าก็จะนำม้ามาด้วย และเป็นที่รับรู้กันว่าม้าของข้าหลวงอังกฤษที่ปกครองอินเดียนั้นได้ผสมผสานกับม้าพื้นเมืองของอินเดียที่ภายหลังพัฒนามาเป็นม้า “มาวารี” หรือ ม้าอาหรับเวอร์ชั่นอินเดียที่โด่งดัง พม่าก็ได้รับอิทธิพลม้าสายนี้มาเช่นกัน และเมื่อมีศึกกับไทย ม้าเหล่านี้ก็กระจายมาโดยการเป็นพาหนะของทหารในการสงคราม หลักฐานที่สามารถพูดได้เช่นนี้ก็เนื่องจากในขณะที่ผู้เขียนยังเป็นเด็กที่จังหวัดชุมพรได้มีการจัดแข่งรถม้าอยู่บ่อยครั้ง และได้เห็นม้าพันธุ์นี้มากับตา จึงอยากรื้อฟื้นสิ่งดีๆ เหล่านี้ขึ้นมา

ลักษณะเด่นของม้าไทยแท้คือ ลำตัวมีสีเดียวไม่มีสีอื่นผสม รวมทั้งม้าไทยแท้ไม่มีม้าสีขาวล้วนและดำล้วน ตัวผู้สูง 125-130 ซม. ตัวเมียสูง 110 -120 ซม. สันจมูกตรง รูจมูกโต แผงคอดกยาว ขาสั้น ลำตัวสั้น กีบแข็งแรงทนทาน เลี้ยงง่าย มีความอดทนสูง 







            ม้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับคนมานับพัน  ๆ ปี และเป็นสัตว์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ในการขับขี่ บรรทุก ลากเข็น ขนส่งหรือใช้ในการทำไร่ไถนา แต่ปัจจุบันการใช้ แรงงานม้าสำหรับการทำไร่ไถนาลดน้อยลงไปมาก เนื่องจากมีการพัฒนานำเครื่องจักรเครื่องมือทุ่นแรงมาใช้ทดแทนแรงงานสัตว์มากขึ้น นอกจากนี้ทางด้านการทหาร ม้าก็มีบทบาทสำคัญในการบรรทุกสัมภาระ และอุปกรณ์ต่าง  ๆ ไปส่งยังแนวหน้า ที่ยานพาหนะไปไม่ถึง และใช้เป็นยานพาหนะในราชการทหารม้าอีกด้วย ด้านการกีฬา ม้าก็มี ส่วนสำคัญอย่างมากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกีฬาแข่งม้า การขี่ม้าข้ามเครื่องกีดขวาง หรือการขี่ม้าเล่นกีฬาโปโล ด้านความบันเทิง มนุษย์ยังใช้ม้าในการ แสดงการขี่ผาดโผนหรือการแสดงละครสัตว์

[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]



หัวข้อ
วิวัฒนาการของม้า

            นักสัตวศาสตร์ได้จัดม้าไว้ในประเภทสัตว์กินพืชเป็นอาหารและมีนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ หรือเรียกตามศัพท์วิทยาศาสตร์ว่า พาริโซแดคติลา (Parissodactyla) ซึ่งมีลักษณะทั่ว  ๆ ไป ดังนี้
            ๑. มีจำนวนนิ้วของแต่ละเท้าเป็นเลขคี่ น้ำหนักตัวส่วนใหญ่จะตกลงบนนิ้วกลาง ซึ่งเป็น  นิ้วที่ยาวที่สุด และจะเดินโดยใช้กีบหรือนิ้วเท้า
เท่านั้น ส้นเท้าจะไม่แตะพื้น
            ๒. ริมฝีปากและฟันมีการพัฒนาให้มีรูป  ลักษณะที่เหมาะสมในการกิน และบดเคี้ยวพืช เป็นอาหาร
มีหลักฐานจากฟอสซิล (Fossil) พบว่า ในสมัยโบราณมีสัตว์หลายชนิดที่เจริญเติบโตและ  พัฒนาการมาจากบรรพบุรุษของม้า แต่สัตว์เหล่านั้นหลายชนิดได้สูญพันธุ์ และล้มหายตายจากไป    ตามกฎเกณฑ์การอยู่รอดของธรรมชาติ คงเหลือเฉพาะสัตว์ตระกูลม้า วิวัฒนาการของสัตว์ชนิดนี้มีต้นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือในยุคอิโอซีน (Eocene) หรือประมาณ ๕๐ ล้านปีมาแล้ว บรรพบุรุษเก่าแก่ของม้าได้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกมีขนาดตัวเท่าสุนัขจิ้งจอกหน้าตาคล้ายม้าในปัจจุบันขาหนีบมีนิ้วเท้า ๔ นิ้ว ขาหลังมี ๓ นิ้ว ลักษณะฟันบ่งชี้ว่า เป็นสัตว์ที่กินใบไม้เป็นอาหาร เรียกว่าไฮราโคเธเรียม (Hyracotherium) และมีการค้นพบซากที่มีลักษณะคล้ายกันในแถบยุโรป เรียกว่าอิโอฮิปปุส (Eohippus)
           ในยุคโอลิโกซีน (Oligocene) หรือประมาณ    ๒๘ ล้านปีที่ผ่านมา ได้มีวิวัฒนาการของม้ามาเป็นลำดับ โดยมีขนาดตัวโตขึ้น เรียกว่า เมโซฮิปปุส (Mesohippus) แต่ยังกินพืชเป็นอาหาร
            ต่อมาในยุคไมโอซีน (Miocene) มีวิวัฒนาการไปเป็นพาราฮิปปุส (Parahippus) และไฮโป  ฮิปปุส (Hypohippus) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบรรพบุรุษของม้าในยุคนี้ คือ ฟัน โดยเปลี่ยน เป็นฟันแข็งแรงเหมาะสำหรับการบดเคี้ยวหญ้ามากขึ้น และกินหญ้าเป็นอาหารแทนใบไม้ บรรพบุรุษของม้าในกลุ่มไฮโปฮิปปุส (Hypohippus) ได้ อพยพย้ายถิ่นที่สำคัญไปอยู่แถบทวีปยุโรป และเอเชียด้วย
           ต่อมาเมื่อประมาณ ๔ ล้านปีที่แล้ว ในยุคพลิโอซีน (Pliocene) บรรพบุรุษของม้าในยุคนี้มีหน้าตาคล้ายลูกม้าในปัจจุบัน ม้าในยุคนี้เรียกว่า พลิโอฮิปปุส (Pliohippus) เป็นยุคที่ม้าเปลี่ยนจากสัตว์ที่มีนิ้วเท้า ๓ นิ้ว ไปเป็นนิ้วเดียวหรือกีบเดียว เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ในการหากินจากป่าที่มีพื้นดินอ่อน มา เป็นทุ่งหญ้าที่มีพื้นแข็งและกินหญ้าเป็นอาหาร
            วิวัฒนาการขั้นต่อมา เป็นม้าในปัจจุบันซึ่งเรียกว่า อิควุส (Equus) เพิ่งปรากฏเริ่มมีมาเพียง ประมาณ ๒ ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเข้าสู่ยุคเพลอิสโตซีน (Pleistocene) ม้าป่าในยุคนี้มีหลักฐานจากรูปวาดบนฝาผนังถ้ำ ซึ่งมีรูปลักษณะเหมือนม้าในปัจจุบัน แต่มีสีเลืองน้ำตาล หัวใหญ่ ขนที่แผงคอจะสั้น และตั้งตรง ต่างกับม้าปัจจุบันที่มีขนแผงยาวปรก ลงมา ม้าในปัจจุบันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อิควุสคาบอลลุส (Equus caballus)
            แนวโน้มในการพัฒนาที่แน่นอนตลอดระยะ เวลาของวิวัฒนาการของม้าที่เห็นได้ชัดคือ ขนาดตัวใหญ่ขึ้น ขายาวขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูก นิ้วเท้า ซึ่งทำให้ม้ามีความสามารถในการวิ่งได้เร็วกว่าสัตว์ชนิดอื่น ในขณะเดียวกันนิ้วกลางก็มีการเพิ่มขนาด และลดจำนวนนิ้วเท้าลง จนเหลือ เพียงนิ้วเดียว และเปลี่ยนแปลงเป็นกีบ
            ฟันม้ามีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ อิโอฮิปปุส (Eohippus) บรรพบุรุษม้าในยุคอิโอซีน(Eocene) ที่มีฟันติดต่อกันตลอด ได้เปลี่ยนแปลง โดยค่อย  ๆ มีช่องว่างเกิดขึ้นระหว่างฟันหน้าและฟันด้านข้าง ซึ่งทำหน้าทีบดเคี้ยวอาหารได้ดียิ่งขึ้น




[กลับหัวข้อหลัก]

อิควุส คาบอลลุส
ชนิดและพันธุ์ม้า
 
 การจัดชนิดของม้า ได้จัดตามการใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดแบ่งไว้ดังนี้
๑. ม้างาน (Draft Horse)
๒. ม้าขี่ (Riding Horse)
๓. โรดสเตอร์ (Roadster Horse)
๔. ม้าเทียมลาก (Carriage or Heavy Harness Horse)
๕. ม้าโพนี่ (Pony Horse)

 ม้างาน (Draft Horse)
            เป็นม้าที่ใช้ในการทำงานในไร่นาและคอกปศุสัตว์ งานเทียมเกวียนลากของหนัก  ๆ บางครั้งอาจใช้ขี่เข้าเมือง ม้างานมีหลายพันธุ์ด้วยกัน เช่นม้าพันธุ์เบลเยี่ยม (Belgian) ม้าพันธุ์เพอร์เชอร์รอน(Percheron) ม้าพันธุ์ไชร์ (Shire) ม้าพันธุ์ไคล เดสเดล (Clydesdale) ม้าพันธุ์ซัฟโฟล์ค (Suffolk) ม้างานเป็นม้าที่มีขนาดใหญ่ (Heavy Horses)สูงประมาณ ๑๕-๑๗ แฮนด์๑ (Hands) เมื่อโตเต็มที่มีขนาดน้ำหนัก ๖๑๔-๑,๐๐๐ กิโลกรัม


 ม้าขี่ (Riding Horse)          เป็นม้าที่ใช้สำหรับขี่เดินทาง ม้าแข่ง ม้าสำหรับกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ม้าสำหรับขี่แข่งกีฬาโปโล ม้าขี่สำหรับเดินสวนสนาม ม้าขี่มี หลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น
- พันธุ์อเมริกันแซดเดิล (American  Saddle Horse)
- พันธุ์อัพพาลูซา (Appaloosa)
- พันธุ์อาหรับ (Arabian)
- พันธุ์มอร์แกน (Morgan)
- พันธุ์คลีฟแลนด์ เบย์ (Cleveland  Bay)
 - พันธุ์พาโลมิโน (Palomino)
- พันธุ์พินโต (Pinto)
- พันธุ์เทนเนสซี วอล์คกิ้ง (Tennes  see Walking)
- พันธุ์เทอร์รับเบร็ด (Thoroughbred)
 ม้าขี่เป็นม้าที่มีขนาดสูงประมาณ ๑๔-๑๗ แฮนด์ เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนัก ๓๖๔-๕๙๑  ที่กิโลกรัม
 ม้าโพนี่ (Pony Horse)
          เป็นม้าสำหรับการขี่ของเด็ก ๆ หรือเทียม รถลากขนาดเล็ก มีส่วนสูงประมาณ ๑๑-๑๔แฮนด์ และเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ ๑๘๐-
 ๓๘๖ กิโลกรัม ม้าโพนี่มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน    เช่น
- พันธุ์อเมริกานา (Americana)
- พันธุ์แฮกนี (Hackney)
- พันธุ์เชตแลนด์ (Shetland)
- พันธุ์เวลช์ (Welsh)
- พันธุ์ฮาร์นเนส (Harness)นอกจากนี้ยังมีม้าโพนี่พันธุ์ไทย ซึ่งรูปร่าง
    ล่ำสัน เตี้ย ป้อม และเฉลียวฉลาด ม้าไทยนั้นเชื่อว่าอาจจะมีบรรพบุรุษมาจาก เซลติค โพนี่(Celtic Pony)


[กลับหัวข้อหลัก]

ม้าโพนี
สีของม้า
           สีของขนม้า เป็นสิ่งที่สังเกตเพื่อให้รู้จักม้า แต่ละตัว ฉะนั้น การเรียกชื่อสีของม้าต่าง  ๆ จึงเป็นการจำเป็นที่จะต้องเรียกให้ถูกตามแบบเดียวกัน ทั้งสิ้น ถ้าต่างคนต่างเรียกชื่อตามความเข้าใจของตนแล้ว ก็จะเป็นการผิดแปลกไปจะไม่เป็นที่เข้าใจ ได้ชัดเจน
            การตรวจสีของม้านี้ยากมาก เพราะสีขนมี อยู่หลายอย่างหลายชนิด ผิดกันเพียงเล็ก  ๆ น้อย  ๆจนไม่สามารถจะเอาเป็นที่แน่ว่าผิดกันอย่างไรก็มี
 ขนม้าตัวเดียวกันอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตาม อายุของม้านั้น เช่น สีแซม นานเข้าก็กลายเป็นสี ขาวได้ หรือม้าดำกลายเป็นแซมไปก็มี ลูกม้าซึ่งเกิดใหม่  ๆ มักจะมีสีขนผิดกว่าขนธรรมดาและ ยาวกว่า ต่อเมื่ออายุได้ ๗-๘ เดือน แล้วจึงได้ เปลี่ยนขนเป็นสีธรรมดาสีธรรมดาแบ่งออกได้เป็น ๓ จำพวก คือ
            ๑. ขนสีล้วน
            ๒. ขนสีแซม
            ๓. ขนสีผ่าน


ม้าขนสีล้วน เป็นม้าที่มีสีขนคล้ายคลึงกันทั่วตัว มีผิดกันเล็กน้อยบางแห่งเท่านั้น เช่น บางตัวค่อนข้างดำบ้าง ขาวบ้างบางแห่ง หรือมีรอยจุดเล็ก  ๆ น้อย  ๆ ไม่สู้โตนักก็นับว่าเป็นม้าสีล้วนเหมือนกัน สีล้วนแบ่งออกเป็น ๗ ชนิดคือ

           ๑. สีขาว
           ๒. สีปลั่ง
           ๓. สีเหลือง
           ๔. สีจันทร์
           ๕. สีแดง
           ๖. สีน้ำตาล
           ๗. สีดำ

           สีขาว แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
             (๑) ม้าสีขาวธรรมดามีขนสีล้วน ผิวหนัง    ใต้ขนดำ ตาดำ
             (๒) ม้าสีขาวเผือก มีขนสีขาวเผือก หรือสีขาว ผิวหนังใต้ขนสีชมพู กีบเหลือง หรือขาว ลูกตาสีออกแดงคล้ายตากระต่ายขาว ม้าเผือก มักมีสีขาวมาแต่กำเนิด  สีม้าขาวนั้นเมื่อยังเล็กอยู่ มักจะมีสีอื่น แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนจนเป็นขาวธรรมดา

             สีปลั่ง คือ ขนสีออกแดงคล้ายสีน้ำหมาก แต่อ่อน ม้าสีปลั่งแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
             (๑) สีปลั่งแก่ คือ มีขนสีแดงมาก
             (๒) สีปลั่งอ่อน มีสีคล้ายชมพู
              สีเหลือง เป็นสีขาวเหลืองปนกันเหมือนทาขมิ้น สีเหลืองแบ่งออก เป็น ๓ ชนิด คือ
            (๑) สีเหลืองอ่อน มีขนออกขาว ผิวหนัง ค่อนข้างขาว
            (๒) สีนกขมิ้น มีขนเหลืองกว่าสีเหลืองอ่อน แต่มีหนังดำ กีบดำ
            (๓) สีเหลืองธรรมดา คือ สีเหลืองแก่และ บาง มีสีออกเทา  ๆซึ่งเรียกว่า "มีสีลาน" เพราะมี สีคล้ายใบลานหรือใบตองแห้ง
              สีจันทร์ เป็นม้าสีเหลือง ขนคอและขนหางสีเหลือง เมื่อถูกแดดมักจะมีเงาเหมือนทองแดงม้าสีจันทร์แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
            (๑) สีจันทร์อ่อน
            (๒) สีทอง
            (๓) สีทองแดง มีสีคล้ายสีแดง แต่ขนคอ และขนหางไม่ดำ
 ม้าสีจันทร์มักจะมีบรรทัดหลังเหล็ก บางทีมีสายบนหลัง ตามที่เข้าใจกันว่า ต้นตระกูลของม้าจำพวกนี้คงจะสืบเนื่องมาจากม้าลาย
              สีแดง เป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีเงาเป็นมัน แต่ขนที่คอและหางสีดำ ม้าสีแดงนั้นมีอยู่ ๓ ชนิดคือ
            (๑) สีแดงอ่อน
            (๒) สีแดงธรรมดา
            (๓) สีประดู่ มีขนสีแดงเข้ม และมีเงาเป็นวงกลมที่ก้น ข้อมักดำจัด
              สีน้ำตาล มีอยู่ ๓ ชนิด คือ
            (๑) สีน้ำตาลอ่อน มีสีเหลือง
            (๒) สีน้ำตาลธรรมดา ค่อนข้างจะมีสีแดง
            (๓) สีน้ำตาลแก่ มักจะมีขนดำแซมอยู่มาก
               สีดำ มีอยู่ ๓ ชนิด
            (๑) สีดำอ่อน มีสีออกเทา  ๆ เรียกว่า "ม้าสวาท"
            (๒) สีเขียว คือ ตัวมีสีดำ แต่ข้างตัวหรือตามท้องมีสีแดงปน
            (๓) สีดำธรรมดาคือ ดำหมดทั้งตัว ถ้าดำจัดจนมีเงาเป็นมันเรียกว่า "ดำปีกกา" หรือสีนิล
 ม้าขนสีแซม คือ ม้าที่ขนขาวขึ้นปนกับขนสีอื่น ม้าสีแซมแบ่งตามสีขนที่ปนอยู่กับสีขาวออก เป็น ๓ จำพวก คือ
            (๑) แซมดำ
            (๒) แซมเหลือง
            (๓) แซมแดง

           แซมดำ มีอยู่ ๒ ชนิด คือ
                        (๑) แซมดำธรรมดา มีขนดำแซมทั่วทั้งตัว เสมอกัน
                        (๒) แซมมรกต คือ มีขนดำขึ้นแซมเป็นวงกลมเป็น หย่อม  ๆ ทั่วทั้งตัว
            แซมเหลือง มีขนสีเหลืองขึ้นแซมทั้งตัว
            แซมแดง มีขนอยู่ ๒ ชนิด คือ
                        (๑) แซมแดงธรรมดา มีขนแดงแซมทั่วทั้งตัวเสมอกัน
                        (๒) แซมเลือด มีขนแดงแซมเป็นจุด  ๆขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพด และดูแล้วคล้ายรอยโลหิตหยด


ม้าขนสีผ่าน ม้าสีผ่านต้องถือสีขาวเป็นพื้น เดิม แม้จะมีสีขาวน้อยกว่าสีอื่นก็ตาม ส่วนสีอื่นที่ผ่านต้องเรียกสีนั้นเป็นขนสีผ่านเสมอ เช่น ผ่านเหลือง ผ่านดำ ดังนี้ เป็นต้น ม้าบางตัวผ่านจุดโตประมาณเท่าฝ่ามือหรือเท่าฟองไข่ ม้าชนิดนี้เรียกว่า "ม้าสีตลก"ม้าสีผ่านแบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ
            (๑) ผ่านดำ
            (๒) ผ่านแดง
            (๓) ผ่านเหลือง
            (๔) ผ่านแซมดำ แดง และเหลือง


[กลับหัวข้อหลัก]

ม้าสีแดง


ม้าสีน้ำตาลแก่


ม้าพาโลมิโน


ม้าสีจันทร์


ม้าขนสีแซม


ม้าสีเขียว
การคัดเลือกม้า
          การคัดเลือกม้าเพื่อเอาไว้ขี่ หรือเอาไว้ขายต้องเป็นไปตามคุณลักษณะของผู้ที่ต้องการหรือผู้ซื้อ
การพิจารณาในการคัดเลือกม้าเพื่อขี่ :
    ๑. ผู้เริ่มเล่นม้าใหม่  ๆ ควรขอความรู้ คำแนะนำจากผู้ที่มีความชำนาญแล้ว
    ๒. ม้าต้องมีความสมบูรณ์ ไม่มีตำหนิ ขาและ เท้าทั้งสี่จะต้องแข็งแรงได้รูป
    ๓. มีรูปร่างดี และลักษณะเป็นไปตามพันธุ์
    ๔. จะต้องเลือกม้าที่มาจากตระกูลที่ดี และมีประวัติพันธุ์อย่างละเอียดสำหรับใช้ประกอบการ ตัดสินใจ
    ๕. ม้าที่มีประวัติชนะเลิศการแข่งขัน สามารถใช้ เป็นปัจจัยในการคัดเลือกได้


[กลับหัวข้อหลัก]
ลักษณะของม้า 
           การเลือกม้าเพื่อจะเลี้ยงไว้ดูเล่นหรือเลี้ยงไว้ด้วยเหตุผลอื่นก็ตาม วิธีเลือก (ของไทย) ที่ยอม รับกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันก็คือการดูลักษณะ ม้า โดยพิจารณาลักษณะดังต่อไปนี้

๑. ผิวม้า ม้ามาจากตระกูลดี และม้าลักษณะดีจะต้องมีผิวหนังบาง ขนสั้น มองเห็นรอยเส้นเลือดได้ชัดเจน เรียกว่า ม้าผิวบาง
๒. อวัยวะภายนอก ม้าที่มีกล้ามเนื้อใหญ่โต ขาใหญ่ คอหนา ศีรษะโต ม้าที่มีลักษณะเช่นนี้ เป็น ม้าแข็งแรง แต่ไม่ว่องไว เรียก ม้าทึบ
 ๓. นิสัย ม้าที่มีลักษณะหงอย ไม่ปราดเปรียว ส่วนมากมักจะแข็งแรง เรียกว่า ม้าเลือดเย็น ม้าที่มีลักษณะปราดเปรียว ส่วนมากนิสัยดี และมีสายเลือดดี เรียก ม้าเลือดร้อน
 ๔. ส่วนศีรษะ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ
            ส่วนหน้า จากตาถึงปลายจมูก
           ส่วนกระหม่อม จากตาถึงท้ายทอย
            ม้าที่ตระกูลดี ฉลาด ว่องไว และเลือดร้อนส่วนหน้าจะเล็กกว่าส่วนกระหม่อมมาก
            สันจมูก ม้าที่มีสันจมูกตรงหรือแอ่นงอนแสดงว่าเป็นม้าเลือดเย็น ม้าที่มีสันจมูกโค้งและนูนตรงกลางแสดงว่าเป็นม้าเลือดร้อน
            รูจมูก ม้าที่มีรูจมูกกว้าง มักจะเป็นม้าที่ แข็งแรง
            ปาก ม้าปากกว้าง (มุมปากอยู่ใกล้แก้ม) เป็นม้าที่แข็งแรง ม้าปากเล็ก มุมปากเล็ก (มุม ปากตื้น) มักจะเป็นม้าว่าง่าย สอนง่าย
            ตา ม้าตากลมโตจะเป็นม้าเลือดเย็น สอนง่ายม้าตาเล็กจะเป็นม้านิสัยโกง
            ขากรรไกร ม้าขากรรไกรหนาและม้าขา กรรไกรโต มักจะมีนิสัยขี้โกง เกียจคร้าน
            หู ม้าตระกูลดี ได้แก่ ม้าหนู คือ หูเล็ก บางและชิดกัน ม้าตระกูลปานกลาง ได้แก่ ม้าหูกระต่าย คือ หูเล็กแต่ยาว ม้าตระกูลไม่ดี ได้แก่ ม้าหูลา หูใหญ่ยาวปลายเรียว ม้าหูวัว หูจะสั้น หนา
๕. คอ             สันคอ ม้าที่มีสันคอบาง เป็นม้ามีตระกูลดีวิ่งเร็ว แต่ไม่ค่อยแข็งแรง ส่วนม้าที่มีสันคอหนา เป็นม้าตระกูลไม่ดี วิ่งไม่ค่อยเร็ว แต่แข็งแรง
             ผมแผง ม้าตระกูลดี ผมแผงจะมีขนเส้นบาง  ๆ ม้าตระกูล ไม่ดีผมแผงคอจะหยาบ เส้น หนา
             รูปคอ คอม้ามีรูปร่างต่างกันออกไป ซึ่งจะ เป็นลักษณะที่เป็นเครื่องสังเกตว่า ม้าจะดีหรือไม่ แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
             ม้าคอหงส์ คือลักษณะรูปคอที่โค้ง ตลอด ตั้งแต่ต้นคอจนถึง ปลายคอ ม้าที่มีคอ ลักษณะเช่นนี้ จะเป็นม้าที่วิ่งเรียบและมีฝีเท้าเร็ว ขี่สบาย
             ม้าคอตรง คือม้าที่สันคอโค้ง ส่วนใต้คอตรง มีรูปคอพอเหมาะ ม้าที่มีลักษณะเช่นนี้ จะแข็งแรง ว่องไว เหมาะแก่การขี่
๖. ตะโหงก เป็นสิ่งแสดงความแข็งแรงของม้าม้าที่ว่องไวจะมีตะโหงกสูงเด่น ส่วนม้าตะโหงกเตี้ยแสดงว่าม้าไม่แข็งแรง
๗. ส่วนหลัง เป็นส่วนที่รับน้ำหนักของคนที่นั่ง บนหลังม้า ม้าที่มีลักษณะหลังที่ยาว และอ่อน แสดงถึงว่าม้านั้นไม่แข็งแรง เพราะเมื่อใช้ขี่ หรือ บรรทุกของ จะทำให้หลังอ่อนรับน้ำหนักได้ไม่มาก ถ้าม้าที่ส่วนหลังสั้นจะทำให้ม้าเอี้ยวตัวไม่    สะดวก และเป็นเครื่องชี้ให้ทราบได้ว่าปอดม้านั้นจะไม่ใหญ่ เวลาวิ่งจะเหนื่อยเร็ว เราแบ่งลักษณะรูปส่วนหลังม้าออกเป็น :



         -  ม้าหลังโค้ง เป็นม้าที่รับน้ำหนักได้ดีมาก และมีความอดทนต่อน้ำหนักที่รับ แต่ถ้าใช้ขี่จะ กระเทือนมาก ม้าชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้บรรทุก สิ่งต่าง  ๆ
          -  ม้าหลังตรง เป็นม้าที่มีลักษณะดี เมื่อเวลา บรรทุกของ หลังจะแอ่นลงเล็กน้อย ม้าชนิดนี้รับ น้ำหนักได้ดี มีความอดทนและขี่สบาย
           - ม้าหลังแอ่น ม้าที่มีลักษณะรูปหลังแอ่นเมื่อบรรทุกของหรือรับน้ำหนักคนขี่จะทำให้หลังแอ่นมากขึ้น ม้าชนิดนี้จะรับน้ำหนักมากไม่ได้ แต่ใช้ขี่ได้เรียบสบาย

 ๘. ส่วนก้นหรือส่วนท้ายของม้า ม้าที่มีก้นหนาใหญ่ จะเป็นม้าที่มีกำลังมาก แข็งแรงและ วิ่งได้เร็ว
 ๙. หาง มีประโยชน์สำหรับป้องกันยุงและแมลง มารบกวน ฉะนั้นจึงไม่ควรตัดหางม้าให้สั้นเกินไป หางม้ายังบอกตระกูลของม้าได้ โดยดูตำแหน่ง การติดของมัน หางติดสูง คือตำแหน่งของหางจะ ติดได้ระดับเดียวกันกับก้นของม้า แสดงว่าเป็น ม้าตระกูลดี หางติดต่ำหรือหางจุกตูด เป็นม้า  ตระกูลไม่ดีไม่สวยงาม หางติดปานกลาง  แสดงว่าเป็นม้าตระกูลพอใช้ได้

 ๑๐. หน้าอก เป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่า ม้านั้น แข็งแรงหรือไม่ แบ่งออกเป็น                                                                           - ม้าอกราชสีห์ คือ ม้าที่มีหน้าอกกว้าง มี กล้ามเนื้อมาก และกล้ามเนื้อนูนเป็นก้อนทั้งสองข้าง แสดงว่าเป็นม้าที่มีกำลังแข็งแรง มีความอดทนดี
          - ม้าอกไก่ คือ ม้าที่มีหน้าอกแคบ กล้าม เนื้อน้อยและอกนูนเป็นสันลงมา ตรงกลางดู คล้ายอกไก่ เป็นม้าที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก
          - ม้าอกแคบหรืออกห่อ คือ ม้าที่มีกล้ามเนื้ออกน้อย เวลายืนขาหน้าจะชิดกันมาก แสดงว่าไม่แข็งแรงและไม่อดทน
๑๑. สวาบ สวาบของม้าธรรมดา มักจะกว้างราว ๑ ฝ่ามือ จึงจะนับว่าพอดี ถ้าสวาบกว้างกว่านี้ ส่วนมากนับว่าไม่แข็งแรง มักจะเป็นม้าเอวบาง หรือเอวอ่อน
 ๑๒. สะบัก ม้าที่มีสะบักยาว มักวิ่งได้เร็ว เนื่องจาก ม้าเหยียดขาไปข้างหน้าได้มาก ก้าวขาได้ยาว และเร็ว สะบักม้าที่ดีจะมีความยาวเท่ากับส่วนศีรษะ หรือถ้ายาวกว่าส่วนศีรษะยิ่งดี สะบักควรจะเอน ประมาณ ๕๐-๖๐ องศากับลำตัวจึงนับว่าดี
๑๓.  ขาหน้า ขาหน้าจะต้องไม่โก่งหรือแอ่น ขาทั้งคู่ควรจะตั้งตรง จึงจะเป็นม้าที่วิ่งได้ดี ม้าที่ปลายเท้าแคบ หรือยืนบิดปลายเท้า หรือยืนขาถ่าง มักจะวิ่งไม่เร็ว
           ส่วนประกอบของขาหน้าที่ควรพิจารณาได้แก่
           - โคนขา ควรจะมีกล้ามเนื้อแข็งแรง และ ค่อย  ๆ เรียวลงมาตามลำดับ และผิวหนังบาง เห็นเส้นเอ็นได้ชัดจึงจะดี
           - หน้าแข้ง ต้องเรียวเล็กลงตามลำดับ มีผิว หนังบาง ขนละเอียด ไม่ปุกปุยและหยาบกีบ ม้าที่มีกีบเล็กจะวิ่งได้เร็วกว่าม้าที่มีกีบใหญ่ กีบที่ดีจะต้องเรียบไม่เป็นลูกคลื่น หรือมีรอยแตกร้าว
๑๔. ขาหลัง เช่นเดียวกับขาหน้า คือ ตั้งได้พอเหมาะ ขาหลังทั้งสองต้องอยู่ห่างกันพอเหมาะ เวลาม้ายืนขาหลังต้องเอนเข้าข้างในตัวเล็กน้อยและ ข้อตาตุ่มของขาหลังโตกว่าข้อตาตุ่มของขาหน้าเล็กน้อย

         


[กลับหัวข้อหลัก]

ตำแหน่งของฟันม้า
การดูแลและรักษา - - การทำความสะอาดม้า

           การทำความสะอาดม้าการทำความสะอาดม้านี้ต้องทำเป็นประจำทุกวัน เช่นเดียวกับคนที่ต้องทำความสะอาด
ตัวเอง การทำความสะอาดม้าอาจแบ่งได้ดังนี้
    ๑. การกราดม้า มีประโยชน์ทำให้ร่างกายม้าสะอาด ป้องกันโรคผิวหนังและทำให้หนังมีความสมบูรณ์ การกราดนั้นต้องใช้กราดเหล็กกราดตามคอ ตามตัว เพื่อให้ขี้รังแคออกให้หมดการใช้กราดต้องคอยระมัดระวังอย่าให้ผิวหนังม้าถลอกเพราะฟันของกราดเป็นเหล็ก ม้าเป็นสัตว์ที่มีผิวหนังบาง ดังนั้น ส่วนที่คอและท้องของม้าไม่ควรกราดด้วยกราดเหล็ก
    ๒. การแปรง จับแปรงด้วยมือขวาและถือกราด เหล็กด้วยมือซ้าย เอาแปรงขนย้อนขนไปมาจน ขี้รังแคติดที่แปรง แล้วนำแปรงมาถูกับกราด (การแปรงนี้กระทำภายหลังจากกราดแล้ว) ทำเช่นนี้ไปจนทั่วตัวม้า การยืนทำความสะอาด ผู้ที่ทำ ความสะอาด ควรยืนเหนือลม หันหน้าม้าไป
ทางทิศทวนลม (ถ้าทำได้)
    ๓. การเช็ดตัวม้า ภายหลังจากกราด และแปรงจนทั่วตัวม้าเรียบร้อยแล้ว ก็ทำความสะอาดเช็ดตัวม้าด้วยผ้าสะอาดที่บริเวณตา จมูก ปาก หู ตามใบหน้าและทั่ว  ๆ ไป อีกครั้งหนึ่ง
           การทำความสะอาดม้าที่ออกกำลังมาใหม่  ๆควรใช้ฟางหรือหญ้าถูตามตัวให้ทั่ว เพื่อให้เหงื่อที่จับตามตัวแห้งสนิท และเพื่อให้เลือดใต้ผิวหนังกระจายไป

   ๔.การนวดม้า เป็นการนวดตามกล้ามเนื้อและตามข้อต่าง  ๆ ที่เคลื่อนที่ไปมา โดยการนวดด้วย น้ำมัน ใช้สันมือถูนวดแรง  ๆ (ระวังอย่าใช้น้ำมัน ที่ร้อนเกินไป ถูนวดบริเวณผิวหนังที่บาง) การ นวดนี้ควรนวดให้ทั่ว
   ๕. การอาบน้ำม้า การอาบน้ำม้านี้ถ้าทำได้ควร  อาบน้ำม้าสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เพื่อจะได้ทำความ สะอาดม้า ล้างฝุ่นและโคลนที่ติดตามตัว กราด แปรงไม่ออก ในการอาบน้ำม้านี้จะอาบด้วยน้ำเย็น หรือน้ำอุ่นก็ได้ แต่มีข้อระวังในการอาบน้ำม้า คือ
           (๕.๑) ถ้าลงอาบน้ำในบ่อ สระ แม่น้ำ ลำคลอง ควรจะหาที่ให้ม้าลงอาบน้ำได้สะดวก เป็นที่ ๆ ตลิ่งไม่ชัน และไกลจากสิ่งโสโครก
           (๕.๒) ที่อาบน้ำม้าไม่ควรไกลจากโรงม้า มากเกินไป เพราะการเดินไปมาอาจทำให้ม้าร้อนมากและเป็นหวัดได้
           (๕.๓) ในเวลาแดดร้อนจัดไม่ควรอาบน้ำม้า
           (๕.๔) ม้าเป็นหวัด เป็นไข้ ไม่ควรอาบน้ำ
           (๕.๕) เมื่ออาบน้ำแล้วควรเช็ดตัวให้แห้ง ระวังอย่าให้ถูกลมจัดเกินไป
   ๖. การตัดขนม้า มีประโยชน์สำหรับกราดและ แปรงได้สะดวกขึ้น และดูสวยงาม การตัดขนนี้โดยทั่วไปมักตัดกันเมื่อขนยาว แต่ทางที่ดีแล้ว
           การตัดขนม้านั้นควรตัดในฤดูหนาว เพราะว่าใน ฤดูหนาวเมื่อม้าออกกำลังแล้ว เหงื่อม้าจะไม่ซึมออกมาข้างนอก เป็นรังแคง่าย ทำให้การทำความสะอาดม้าเป็นไปด้วยความลำบากเพราะขนม้ายาว การตัดขนนี้ต้องตัดทั่วตัวม้า ถ้าหากทำได้แล้วควรตัดขนม้าปีละ ๑ ครั้ง ในการตัดขนทุกครั้งควรตัดนอกโรงม้าเพราะขนม้าอาจปลิวไป เมื่อม้าตัวอื่น  ๆ หายใจเข้าไป จะทำให้อวัยวะหายใจขอ ม้าพิการได้
   ๗. การตัดแผงคอ ผมหน้า และซอยหาง
           (๗.๑) การตัดแผงคอของม้านั้น โดยทั่วไป ดูว่าม้าตัวนั้นมีแผงคอสวยหรือไม่ เจ้าของม้าบางคนไม่นิยมไว้แผงคอม้า อาจตัดออกก็ได้
           (๗.๒) การตัดผมหน้า โดยธรรมดาทั่วไป ผมหน้านั้นป้องกันแดดส่องกระหม่อมและตา แต่ถ้าหากว่าผมหน้ายาวและหนาเกินไปก็อาจตัดและ ซอยออกได้บ้าง เพื่อความสวยงาม และไม่ให้ผมหน้าเข้าตาม้าตลอดเวลา ซึ่งมักทำให้ตาม้าเจ็บหรืออักเสบได้เสมอ  ๆ
           (๗.๓) การซอยหาง ขนหางม้ามีไว้สำหรับ ไล่แมลง แต่ถ้าหากว่ายาวเกินไปและหนา ก็อาจตัดและซอยออกเพื่อความสวยงามก็ได้ แต่ไม่ควรให้สั้นกว่าข้อน่องแหลมนอกจากนี้แล้วขนที่ควรตัด ได้แก่ เคราใต้ คางม้าควรตัดให้หมด ขนที่ใต้ข้อน่องแหลม ไรกีบ ควรตกแต่งให้สวยงาม
    ๘. การตอกกีบ เกือกม้าสำหรับม้าแข่งสำคัญมากไม่ว่าจะแข่งทางราบหรือแข่งกระโดด คล้าย  ๆ กับ นักวิ่งที่ใส่รองเท้าตะปูกับนักวิ่งเท้าเปล่า รองเท้าจะทำให้การเกาะจับพื้นดินดีขึ้น ไม่ลื่น ในการ ตอกเกือกม้านี้ต้องระวังเป็นพิเศษ ก่อนตอกดูการ เดิน หลังการตอกก็ต้องดูการเดินของม้า ดูแนว ตะปูเกือกสนิทหรือไม่ เอียงหรือตะแคงหรือไม่ความสูงเท่ากันหรือไม่ นอกจากนี้แล้วจะต้องดู ให้ปลายตะปูพับเรียบร้อยแนวเดียวกัน
    ๙. การบำรุงกีบม้า การบำรุงกีบม้าเป็นสิ่งสำคัญ มากถึงแม้ว่าม้าบางตัวกีบจะแข็ง แต่ผู้เลี้ยงบำรุงมักจะไม่เข้าใจเรื่องการบำรุงรักษากีบ ฉะนั้น
กีบม้าจึงเสียบ่อย  ๆ วิธีบำรุงกีบม้าให้ปฏิบัติดังนี้คือ
           (๙.๑) เมื่อกลับจากซ้อมหรือแข่งแล้วต้องแคะเอาดิน โคลน เศษหิน ฯลฯ ที่ติดอยู่ในกีบออกให้หมด
           (๙.๒) การล้างกีบ ถ้าใช้น้ำอุ่นได้ยิ่งดี ถ้าใช้น้ำเย็น ไม่ควรล้างเวลาที่ม้ากลับจากซ้อมหรือแข่ง ใหม่ ๆ ควรรอให้ม้าพักประมาณ ๕ นาที ก่อน
 จึงล้างกีบ
           (๙.๓) การที่จะให้ม้ากีบอ่อน เหนียว ต้อง ให้ม้าได้ออกกำลังกายทุกวันและวิ่งในที่นุ่ม  ๆ
           (๙.๔) ห้ามขี่ม้าในที่แข็ง เช่น บนถนน ไม่ ควรวิ่งเร็วเกินไป และไม่ควรผ่านพื้นที่ ที่มีก้อนหินโต  ๆ
           (๙.๕) ห้ามใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ตะไบ กระดาษทราย ขัดถูที่ประทุน กีบ หรือพื้นกีบม้า เพราะจะทำกีบเสียและทำให้กีบแห้งแตกร้าว แต่การใส่เกือกก็ตัดแต่งได้เล็กน้อย
           (๙.๖) ม้าไม่ควรยืนบนพื้นแข็ง เช่น กระดานพื้นซีเมนต์ นาน ๆ โดยไม่มีสิ่งปูรอง เช่น ฟาง หรือหญ้า
           (๙.๗) ถ้าม้ากีบแห้ง ควรทำให้กีบม้าอ่อน โดยใช้ดินเหนียวพอก หรือเอาผ้าชุบน้ำพัน หรือให้ม้ายืนในที่แฉะ เช่น ในโคลนที่ไม่สกปรก
           (๙.๘) ไม่ควรเอาน้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่งที่ เป็นพิษร้อนหรือยางไม้ทา
           (๙.๙) ต้องคอยระวังเปลี่ยนเกือกม้าให้ เรียบร้อยตามกำหนดของเกือกหรือถ้าตะปูหลุดหลวม หรือคลอน ก็จัดการแก้ไขทันที
           (๙.๑๐) ถ้าม้าไม่ได้สวมเกือกนาน  ๆ ควรได้ตัดแต่งกีบบ้าง เพื่อให้กีบมีรูปร่างถูกต้องเสมอคอกม้า





[กลับหัวข้อหลัก]

การแปรงขนม้า


การใส่เกือกม้า
คอกม้า 
          ที่ขนาดเหมาะสมสำหรับการ เลี้ยงม้า ๑ ตัว ต้องมีขนาดกว้าง ๑๐ ฟุต และยาว ๑๐ ฟุต ซึ่งเป็นขนาดที่เพียงพอให้ความสะดวก สบายในการนอน ลุกขึ้นยืนและต้องมีที่สำหรับ ให้อาหารด้วย นอกจากนี้ จำเป็นต้องทำความ สะอาดคอกม้าเป็นประจำ 

[กลับหัวข้อหลัก]
การให้อาหาร 
          ปริมาณและชนิดของอาหารที่ จะให้แต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาดของม้า การใช้งานหรือใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม นอกจากจะ ให้อาหารหยาบจำพวกหญ้าสดหญ้าแห้งแล้ว ยังจำเป็นต้องให้อาหารเสริมชนิดอาหารผสมเป็นพิเศษอีกด้วย อาจให้ในปริมาณที่ไม่มากนัก แต่อาจให้บ่อยครั้งในแต่ละวัน น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็น ต้องมีให้ม้าดื่มกินได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะการ ให้ม้ากินน้ำ ก่อนกินอาหารผสม

[กลับหัวข้อหลัก]

โรคม้า

 ๑. การแพ้ยาถ่ายพยาธิ การถ่ายพยาธิเป็นสิ่ง สำคัญในการเลี้ยงดูม้า ฟีโนไธอาซีน (Pheno  thiazine) เป็นยาถ่ายพยาธิที่นิยมใช้กันมาก เพราะสามารถทำลายพยาธิตัวกลมได้เกือบทุกชนิดแต่ในขณะเดียวกันยาถ่ายพยาธิชนิดนี้สามารถทำให้ม้าป่วยเพราะพิษยาได้ด้วย อาการที่พบ เช่น อาการโลหิตจางเรื้อรัง ม้าท้องอาจแท้งลูกและเกิด อาการแพ้แสงสว่าง การรักษาอาจทำได้โดยหยุด    ใช้ยาชนิดนี้ ในกรณีที่เป็นพิษรุนแรง  อาจ จำเป็นต้องมีการให้เลือด

 ๒. พยาธิม้า พยาธิม้ามีมากมายหลายชนิด และ ที่สำคัญมี ๔ ชนิด คือ
           (๒.๑) พยาธิดูดเลือด (Strongylus spp.) ตัวแก่ของพยาธิชนิดนี้ อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของม้า ดูดเลือดม้ากินเป็นอาหาร ตัวอ่อนของพยาธิอาจชอนไชเข้าไปในกระแสโลหิต ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดทำให้ม้าตายได้
            (๒.๒) พยาธิเข็มหมุด (Oxyuris equi) ตัว แก่ของพยาธิชนิดนี้ อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของม้าแล้วจะติดออกมากับอุจจาระ และจะวางไข่ไว้ บริเวณใต้หางม้า ทำให้เกิดการระคายเคืองและม้าจะเอาหางไปถูไว้กับผนังคอก ทำให้ขนหลุดจนกลายเป็นขี้กลาก
            (๒.๓) พยาธิตัวกลม (Round worm, Parascaris equorum) ตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ ของม้าและคอยแย่งกินอาหารที่ย่อยแล้ว ทำให้
 ม้าเกิดโรคขาดอาหาร ตัวอ่อนของพยาธิอาจ ชอนไชเข้าไปในเส้นเลือดเข้าสู่ตับ หัวใจ ปอด ซึ่งอาจทำให้ม้าถึงแก่ความตายได้
            (๒.๔) พยาธิบอท (Bot Grubs, Gastro philus spp.) ตัวแก่ของบอทเป็นแมลงคล้าย  ๆ แมลงดูดเลือดและจะวางไข่บนตัวม้า บริเวณขา หน้าอก สวาบ ไข่ของพยาธิบอทที่ม้ากินเข้าไป จะเจริญเป็นตัวหนอน (maggot) ไปฝังตัวอยู่ที่ผนังกระเพาะทำให้เกิดแผลหรือก้อนเนื้องอกใน กระเพาะทำให้มีอาการเสียด
 การป้องกันรักษา ทำได้โดยการทำลายวงจรของพยาธิแต่ละชนิด และจะต้องให้ม้ากินยาถ่ายพยาธิเป็นประจำทุก  ๆ ๖-๘ สัปดาห์ ยาถ่าย พยาธิที่นิยมใช้กันมากมี
            -  ออกซิเบนดาโซล (Oxibendazole)
            -  ไอเวอร์แมกติน (Ivermectin)

๓. โรคติดต่อร้ายแรงในม้า
(๓.๑) โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็น โรคร้ายแรง และอาจทำให้สัตว์ถึงตายได้ สาเหตุเกิดจากเชื้อบัคเตรีที่เรียกว่า บาซิลลัส แอนทราซีส (Bacillus anthracis)
          สัตว์ที่ป่วย จะมีอาการเสียดอย่างแรง มีอาการไข้สูง ตัวสั่น เบื่ออาหาร หงอย ซึม กล้ามเนื้อ ขาไม่มีกำลัง อุจจาระมีเลือดปน ท้องและคอจะ บวมร้อน
           การควบคุมโรค ทำได้โดยการทำลายสัตว์ ที่ป่วย ฉีดวัคซีนป้องกันโรค และแยกสัตว์ที่  ป่วยออกจากฝูง นอกจากนี้ยังต้องทำลายเชื้อโรคบริเวณคอกสัตว์ โดยราดด้วยโซดาไฟละลายน้ำ ๕ ต่อ ๑๐๐ ส่วน
(๓.๒) โรคเซอร่า (Surra)สาเหตุเกิดจาก  เชื้อโปรโตซัว ชื่อว่า ทรีพพาโนโซมา อีแวนซี (Trypanosoma evansi) ซึ่งจะเข้าไปอาศัยอยู่ใน ไขสันหลัง ม้าม และในกระแสเลือด อาการที่ ปรากฏหลังจากได้รับเชื้อแล้ว ๔ - ๑๓ วัน คือเบื่ออาหาร ซึม ง่วงเหงา ไข้สูง อ่อนเพลีย หาย  ใจถี่หรือหอบ เกิดจุดเลือดที่เปลือกตาชั้นในและเยื่อตา บวมบริเวณหนังอวัยวะสืบพันธุ์ ขา ใต้คาง และเนื้อท้อง สัตว์ที่ป่วยอาจจะตายในระยะเพียง  ไม่กี่วัน
(๓.๓) โรคโลหิตจางในม้า (Equine Infec  tious Anemia : F.I.A.) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในม้า เกิดจากเชื้อไวรัส ไทรเฟอร์ อีควินอรัม (Trifurequinorum) ทำให้ม้ามีอาการไข้ขึ้นลง ซึมอ่อนแอ บวมน้ำ น้ำหนักลด บางรายมีเลือดคั่งมีจุดเลือดตามเยื่อเมือกของตา พบโลหิตจางเป็น เวลานาน
            อาการขั้นสุดท้าย สัตว์จะแสดงอาการ  อ่อนเพลีย ทรงตัวไม่ไหว หายใจเร็ว เบื่ออาหารไข้สูง ท้องบวม และตายในที่สุด
โรคนี้ยังไม่มียารักษา แต่อาจป้องกันได้ด้วยการแยกสัตว์ป่วยให้พ้นพื้นที่ และฆ่าเชื้อโรค บริเวณที่สัตว์อาศัย ภาชนะหรือเครื่องขี่ของ สัตว์ป่วยต้องได้รับการอบ-ฆ่าเชื้อโรค จนมั่นใจ แล้วจึงนำมาใช้ได้
(๓.๔) โรคบาดทะยัก (Tetanus) สาเหตุ เกิดจากเชื้อ คลอสตริเดียม เททานิ (Clostridium tetani) ซึ่งอาศัยอยู่ในบริเวณผิวดิน ในอุจจาระ
             สัตว์ที่ป่วยจะมีอาการขากรรไกรแข็ง หรือขาหลัง ทำงานไม่ได้ตามปกติ อุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก สัตว์ที่ป่วยจะ ไม่ชอบแสงสว่างและเสียง เพราะจะทำให้กล้าม- เนื้อเป็นตะคริวแข็งมากขึ้น อาจล้มลงและถึงตาย ได้ในที่สุด
(๓.๕) โรคมงคล่อธรรมดา (Strangles)    สาเหตุเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ สเตรปโตคอกคัส    อีควิ (Streptococcus equi) อาการสัตว์ที่ป่วย จะพบว่า กินอาหารน้อยลง เป็นหวัดอย่างรุนแรงเนื้อเยื่อในจมูกจะแห้ง มีน้ำหนองไหลออกมาเกาะตามบริเวณริมฝีปากของม้า หลอดคออักเสบต่อมน้ำเหลืองบวมโต
          การรักษา ทำได้ด้วยการฉีดเซรุ่ม ถ้าเป็นหนองต้องผ่าออก และรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ